วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

การรักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานโดยไม่ใช้ยา

การรักษาความดันโลหิตสูงในผู้ป่วยเบาหวานโดยไม่ใช้ยา

1 อาหาร 
การควบคุมปริมาณเกลือในอาหาร (2-4 กรัมโซเดียม) พบว่าสามารถลด systolic blood pressure ได้ประมาณ 5 mmHg และ diastolic blood pressure ได้ประมาณ 2-3 mmHg 

2 การลดน้ำหนัก 
การลดน้ำหนัก 1 กิโลกรัมทำให้ค่า mean arterial blood pressure ลดลง 1 mmHg การลดน้ำหนักควรใช้วิธีควบคุมอาหารและการออกกำลังกาย สำหรับยาลดน้ำหนักบางชนิดอาจทำให้มีความดันโลหิตสูงได้ 

3 การออกกำลังกาย
การออกกำลังกายปานกลาง (เดินเร็ว 30-45 นาที 3-4 วันต่อสัปดาห์) สามารถทำให้ความดันโลหิตลดลง 4-9 mmHg 

4 การงดการสูบบุหรี่และการดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง 
อาจมีผลทำให้ความดันลดลง 2-4 mm/Hg 

การดื่มแอลกอฮอล์ระดับปานกลางหรือเหมาะสม คือ 1 ส่วน (exchage) ได้แก่
เบียร์ 1 กระป๋อง (360 ml) 
ไวท์ 2 แก้ว (แก้วละ 100 ml)
วิสกี้ 2 เป้ก (เป้กละ 30 ml) 
 ทำให้ระดับ HDL-C สูงขึ้น แต่ถ้ารับประทานมากเกินไป จะทำให้ตับแข็ง ,ตับอ่อนอักเสบ ไขมันไตรกลีเซอไรต์สูง ระดับน้ำตาลต่ำ และ neuropathy (โรคเส้นประสาท) ซึ่งจำเป็นต้องคำนวณค่าพลังงานด้วย โดยคำนวณเท่ากับ 2 fat exchange


ที่มา การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม สาขาวิชาต่อมไร้ท่อ และ เมตาบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 


 

 

9 วิธีที่ป้องกันโรค

9 วิธีที่ป้องกันโรค 

1 รับประทานอาหารอย่างแชมป์

เพื่อสุขภาพที่ดี ควรหลีกเลี่ยงไขมันอิ่มตัว คอเลสเตอรอล คาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสี(refined carb) น้ำตาล และไขมันทรานส์ อาหารเหล่านี้สามารถก่อให้เกิดการอักเสบเรื้อรัง - กระบวนการที่ร่างกายปกติไปผิดที่สามารถนำไปสู่การเกิดโรคหัวใจ,โรคเบาหวาน และโรคมะเร็งได้ และควรเลือกน้ำมันปรุงอาหารที่ดีและอ่านฉลากก่อนซื้อ 

2 ตรวจสอบคอเลสเตอรอลของคุณ
ความจริงที่รู้จักกันน้อย: อาหารไม่ได้เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดในการกำหนดระดับคอเลสเตอรอลของคุณ เพียงร้อยละ 20 ของคอเลสเตอรอลของร่างกายของคุณมาจากอาหารของคุณ ในขณะที่อีกร้อยละ 80 จะทำโดยตับของคุณ นั่นเป็นเหตุผลที่เป็นเรื่องยากมากที่จะลดคอเลสเตอรอลผ่านอาหารเพียงอย่าง เดียวและเหตุผลว่าทำไมคุณต้องได้รับการตรวจสอบ โดยค่าคอเลสเตอรอลไม่ควรเกิน 200 mg/dL เรียนรู้วิธีการทำงานของคอเลสเตอรอล

3 ตรวจความดันโลหิตของคุณ
หนึ่งในสามของผู้ใหญ่ชาวอเมริกันมีความดันโลหิตสูงได้รับการวินิจฉัยว่าสูง เมื่อความดันมากกว่า 140/90 อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าถ้าคุณยังมีความดันมากกว่า 120/80 คุณยังมีโอกาสเสี่ยงความดันโลหิตสูง วิธีช่วยให้หัวใจของคุณให้ดี โดยการรักษาปริมาณน้ำหนักและลดเกลือและทำกิจกรรมการเคลื่อนไหวของคุณให้มาก ขึ้น

4 ตรวจสอบดัชนีมวลกาย
โดยใช้ น้ำหนัก(กิโลกรัม) หารด้วย ความสูง(เมตร)ยกกำลังสอง เช่น หนัก 60 กิโลกรัม สูง 167 ซม.(หรือ 1.67 เมตร) = 60/1.67x1.67 = 60/2.7889 = 21.5 แสดงว่าปกติ
ผอม Underweight BMI: Less than 18.5 (<18.5)
กำลังดี/ปกติ Ideal BMI: 18.5-25
น้ำหนักเกิน Overweight BMI: 25-30
อ้วน Obese BMI: 30-40
อ้วนมาก Very Obese BMI: Greater than 40 (>40)

5 รักษาระดับน้ำตาลในเลือด
สำหรับสุขภาพเชิงป้องกัน ควรหลีกเลี่ยงโซดา, ลูกอมและขนมหวานที่มีน้ำตาลซึ่งอาจทำให้น้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น หากคุณมีโรคเบาหวานนี้สามารถสร้างความเสียหายต่อหัวใจ, ไตตาและประสาทของคุณเมื่อเวลาผ่านไป การจัดการน้ำตาลในเลือดเป็นหนึ่งในเจ็ดตัวชี้วัดสำหรับสุขภาพของหัวใจตามที่ สมาคมหัวใจอเมริกัน ตัวชี้วัดเหล่านี้ ทำให้มันมีโอกาสน้อยที่จะได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง

6 มีการเคลื่อนไหวออกกำลังกาย
การออกกำลังกายไม่จำเป็นต้องอยู่ในห้องออกกำลังกายหรือสภาพแวดล้อมที่มีโครง สร้าง ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าความถี่ (ความบ่อย), ความหนัก(วิธีการที่ยาก) และเวลา(นานแค่ไหน) เป็นสิ่งที่สำคัญทำเพียง 30 นาที คุณอาจจะใช้เวลาสั้นและเร็วเดิน 2-3 ครั้งต่อวัน หรือ 10 นาที สามรอบ (15 นาที สองรอบ) ในกิจกรรมที่ทำให้หัวใจของคุณมีความสุข

7 เลิกสูบบุหรี่
ถ้าคุณสูบบุหรี่อาจมีไม่มีทางเลือกอื่น ๆ สิ่งเดียวที่คุณสามารถทำเพื่อช่วยให้สุขภาพของคุณดีขึ้นคือการเลิกสูบบุหรี่ ในขณะที่ผลการศึกษาล่าสุดพบว่าผู้สูบบุหรี่สูญเสียอายุขัยอย่างน้อย 10 ปีเมื่อเทียบกับคนที่ไม่เคยสูบบุหรี่ และพบว่าคนที่เลิกบุหรี่ก่อนอายุ 40 ลดความเสี่ยงของการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับการสูบบุหรี่ร้อยละ 90 ลองดูผลกระเปลี่ยนแปลงของร่างกายคุณเมื่อคุณเลิกดูสิครับ

8 นอนหลับให้เพียงพอ
อาหารเกี่ยวข้องโดยตรงกับฮอร์โมน serotonin (ฮอร์โมนแห่งความสงบ) พร้อมกับวิตามินบี 6, บี 12 และกรดโฟลิก ช่วยส่งเสริมการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพ เน้นอาหารของคุณ 3 อย่างได้แก่ คาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน, โปรตีนลีน(โปรตีนที่มีไขมันต่ำ) และไขมันไม่อิ่มตัว การออกกำลังกายเช่น โยคะ ก็ช่วยได้ หรือวิธีอื่น พบว่าผู้ที่ออกกำลังกายจะนอนหลับง่ายถึง 83 % และ ผู้ที่ไม่ออกกำลังกายพบเพียง 56 % (Foundation’s 2013 Sleep in America poll)

9 การตรวจสุขภาพ
ไม่ได้กล่าวเกินจริง: การตรวจสุขภาพสามารถช่วยชีวิตคุณได้ การตรวจสุขภาพได้รับการออกแบบที่จะตรวจจับการเกิดโรคมะเร็งและปัญหาที่ร้าย แรงในระยะแรกๆ เพื่อการรักษาที่ประสบความสำเร็จมากขึ้น มีคำแนะนำการตรวจคัดกรองสำหรับผู้ใหญ่และผู้หญิงโดยเฉพาะ การตรวจที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับประวัติครอบครัวของคุณ บางคำแนะนำการตรวจคัดกรองที่มีการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้เหมาะสมกับคุณ อาจพูดคุยปรึกษาแพทย์ของคุณ
อาจมีตกหล่นบ้าง เพิ่มมาบ้าง ลองอ่านดูครับ
credit : health.clevelandclinic.org

Glycemic Index ไกลซีมิคอินเดกซ์

Glycemic Index ไกลซีมิคอินเดกซ์  

     เป็นการวัดการดูดซึมของอาหารเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์ เท่ากับ 100 แสดงว่า ดูดซึมได้รวดเร็วเท่าอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำ แสดงว่าดูดซึมได้ช้า ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์สูงกว่า 100 แสดงว่าการดูดซึมมากกว่าอาหารมาตรฐาน อาหารที่ควรรับประทานในผู้ป่วยเบาหวานคือ อาหารที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำ    นอกจากนั้นการรับประทานอาหารที่มี glycemic index สูง ยังทำให้ระดับ HDL ลดลงได้ 

ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ในอาหารประเภทแป้ง (โดยใช้ข้าวจ้าวเป็นอาหารมาตรฐาน) 

ขนมปังขาว                    110 
ข้าวเหนียว                     106  
ข้าวจ้าว                         100
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่            76
ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่, บะหมี่     75 
มักกะโรนี สะปาเก็ตตี        64-67 
วุ้นเส้น                           63  

 ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ของผลไม้ไทย (โดยใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นอาหารมาตรฐาน) 

ทุเรียน          62.4 
สัปปะรด        62.4
ลำใย            57.2 
ส้ม               55.6
องุ่น              53.1
มะม่วง           40.6
กล้วย            38.6  

  จะเห็นได้ว่า การชิมผลไม้ว่าหวานหรือไม่หวานนั้น อาจทำให้เข้าใจผิดว่า ผลไม้นั้นไม่มีปัญหาในการรับประทาน ผลไม้บางอย่างมีรสเปรี้ยวกลบหวานอยู่ ทั้งที่คุณสมบัติในการทำให้น้ำตาลสูงเท่าเทียมกับผลไม้หวาน เช่น สัปปะรด ขณะที่มะม่วงมีรสหวาน แต่ไกลซีมิคอินเดกซ์ไม่สูง ดังนั้นผลไม้ที่ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากไกลซีมิคอินเดกซ์สูงได้แก่ ทุเรียน สับปะรด ลำใย เป็นต้น ผลไม้ที่รับประทานได้ประจำ เนื่องจากไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำ ได้แก่ กล้วย มะละกอ เป็นต้น   อาหารพวกแป้งเป็นอาหารที่หลีกเลี่ยงได้ยาก จึงควรรับประทานกลุ่มที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำกว่าข้าวจ้าว เช่น วุ้นเส้น ,เส้นก๋วยเตี๋ยว, บะหมี่ หลีกเลี่ยงกลุ่มที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์สูงกว่าข้าวจ้าว เช่น ข้าวเหนียว ขนมปังขาว เป็นต้น 

ภาพประกอบจาก http://www.urbanhealthnw.com/health-information/health-articles/glycemic-index-what-you-need-to-know

ที่มา การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม สาขาวิชาต่อมไร้ท่อ และ เมตาบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

ข้อบ่งชี้การคัดกรองเบาหวาน สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการของเบาหวาน

ข้อบ่งชี้การคัดกรองเบาหวาน สำหรับผู้ใหญ่ที่ไม่มีอาการของเบาหวาน

1 อายุ 45 ปี หรือ มากกว่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีดัชนีมวลกาย (ฺBody Mass Index-BMI) มากกว่าหรือเท่ากับ 25  kg/m2 (ถ้าผลตรวจปกติ ให้ตรวจทุก 3 ปี)
2 อายุน้อยกว่า 45 ปี และน้ำหนักเกิน (BMI มากกว่าหรือเท่ากับ 25 kg/m2) ร่วมกับมีปัจจัยเสี่ยงอื่นต่อการเป็นเบาหวานให้ตรวจคัดกรองบ่อยครั้งขึ้น (ถ้าผลตรวจปกติ ให้ตรวจทุก 1-2 ปี) ได้แก่

ก. ประวัติครอบครัวเป็นเบาหวาน (first degree relative)
ข. การขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอหรือทำงานที่ไม่ได้ออกแรงมาก (physical inactivity)
ค. ประวัติ IGT (impaired glucose tolerance) หรือ IFG (impaired fasting glucose)
ง. ประวัติคลอดทารกน้ำหนักเกิน 4 กก. หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็น GDM (Gestational diabetes mellitus)
จ. ความดันโลหิตสูง (มากกว่าหรือเท่ากับ 140/90 mmHg)
ฉ. HDL-Cholesterol น้อยกว่าหรือเท่ากับ 35 mg/dl และ/หรือ Triglyceride มากกว่าหรือเท่ากับ 250 mg/dl
ช. Polycystic ovary syndrome (PCOS) หรือมี acanthosis nigricans
ซ. ประวัติโรคหลอดเลือด (vascular diseases)

ที่มา การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม สาขาวิชาต่อมไร้ท่อ และ เมตาบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

วันพฤหัสบดีที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การปฏิบัติตัวของผู้เป็นไวรัสตับอักเสบบี แบบฉับพลัน

การปฏิบัติตัวของผู้เป็นไวรัสตับอักเสบบี แบบฉับพลัน 
ที่มา :ไวรัสตับอักเสบบี และ ซี ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ 
เรียบเรียงโดย รศ.นพ.ทวีศักดิ์  แทนวันดี 
สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

          ในผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบบีเฉียบพลัน แม้มีอาการมาก อ่อนเพลีย ตาเหลืองตัวเหลือง แต่ส่วนใหญ่จะหายกลับเป็นปกติในเวลารวดเร็ว ในช่วงแรกๆ อาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เบื่ออาหารมาก โดยเฉพาะตอนบ่ายๆ อาการจะมากกว่าตอนเย็นๆ นอกจากนั้น จะมีอาการอ่อนเพลียมาก ยิ่งตอนบ่ายๆอาจอ่อนเพลียมากขึ้น 

การรับประทานอาหาร
       ผู้ป่วยสามารถรับประทานอาหารได้ทุกชนิด ในอดีตมักแนะนำให้งดอาหารมัน ดื่มน้ำหวานมากๆ ซึ่งปัจจุบันทราบกันดีว่า ไม่เป็นความจริง
          ในช่วงแรกหากผะอืดผะอมมากอาจลดอาหารมัน หรือ อาหารที่มีกลิ่นคาวๆ ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าอาหารมัน จะทำอันตรายตับ !!!    
           หากอาการอาเจียนหายและไม่เหลืองมาก การรับประทานอาหารมันก็ไม่ได้เป็นอันตรายใดๆ ในขณะที่การดื่มน้ำหวานปริมาณปกติไม่มีอันตรายอะไร แต่หากดื่มกันมากๆ วันละเป็นขวดๆ คงไม่ได้ประโยชน์อะไรและอาจเกิดโทษ เพราะน้ำหวานในปริมาณมากเกินความพอดีเป็นพลังงานส่วนเกิน ร่างกายจะเปลี่ยนเป็น ไขมันเกาะที่ตับ ทำให้ตับโตมากขึ้น จุกแน่นท้องแทน แนะนำให้รับประทานอาหารครบทุกหมู่ อาจแบ่งเป็นมื้อย่อยๆ ตอนเช้าหากพอรับประทานได้ก็ให้รับประทานตุนไว้ก่อน เพราะตอนบ่ายๆอาจเบื่ออาหาร รับประทานได้น้อย 

 ภาพแสดงเซลตับปกติ และ ไขมันเกาะที่ตับ ที่มา http://www.doctortipster.com/21650-possible-etiology-of-alcoholic-fatty-liver-explained.html

           ยาที่อาจจำเป็นต้องใช้ยารักษาตามอาการ เช่น อาเจียนอาจใช้ยาแก้อาเจียนซึ่งแพทย์จัดให้ อาจมีอาการอืดๆจุกชายโครงขวาบ้างจากตับโต บางรายอาจมีอาการปวดเมื่อยบ้าง ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ หากไม่ได้เป็นตับอักเสบรุนแรงและท่านรับประทานยาคุมกำเนิดอยู่ไม่จำเป็นต้องหยุดยาเม็ดคุมกำเนิด สำหรับการใช้วิตามินต่างๆไม่มีความจำเป็นแต่ก็ไม่ได้มีอันตรายอะไร สามารถใช้ได้ ตัวอย่าง เช่น วิตามินบำรุงตับทั่วๆไป 
           อย่างไรก็ตาม การใช้ยาสมุนไพรหลายอย่างที่ไม่ทราบส่วนประกอบแน่นอนจำนวนหนึ่ง อาจมีสารกดภูมิต้านทานประเภทสเตอรอยด์ ผสมอยู่ อาจส่งผลเสียรุนแรง แทนที่ร่างกายจะกำจัดเชื้อไวรัสให้หายขาดได้ กลับเป็นตับอักเสบเรื้อรังได้ครับ 

           สำหรับการพักผ่อนหรือการออกกำลังกายอยากจะบอกว่า ผู้ป่วยจะรู้ตัวได้ดีที่สุดครับ เพราะหากยังเพลียมากๆก็ควรพักผ่อนตามสมควร แต่หากไม่เพลียแล้วหรือเริ่มเหลืองลดลงแล้ว ก็คงทำกิจวัตรประจำวันได้ตามความเหมาะสม การออกกำลังกายควรงดไว้จนหายเหลืองและระดับ AST/ALT น้อยกว่า 100 U/L (ยูนิตต่อลิตร) แล้ว

           ผู้ป่วยตับอักเสบบีฉับพลัน ไม่จำเป็นต้องแยกภาชนะหรือห้องน้ำกับคนอื่นๆ อย่างไรก็ตามสิ่งของที่อาจปนเปื้อนเลือด เช่น มีดโกนหนวด กรรไกรตับเล็บ ควรแยกกัน ต้องตรวจภูมิต้านทาน (Anti-HBs/HBsAb) ในคู่สมรสด้วย หากยังไม่มีควรฉีดวัคซีนและระหว่างที่ยังไม่มีภูมิต้านทาน การมีเพศสัมพันธ์ ต้องใช้ถุงยางอนามัย 
    
            โดยทั่วไปกว่าจะมีอาการเป็นปกติในผู้ป่วยตับอักเสบบีฉับพลัน ต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ และมากกว่าร้อยละ 95 จะหายเป็นปกติกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีออกจากร่างกายได้อย่างถาวร ในผู้ป่วยกลุ่มนี้ ยาควบคุมไวรัสใดๆ ยังไม่มีบทบาทในการกำจัดไวรัสและหากใช้ยาบางอย่าง อาจทำให้ผู้ป่วยทรุดลงในช่วงที่อาการมากๆ เช่น การใช้อินเตอร์เฟอรอน 

Updated : 27 MAY 2016 
By Retromedtech 

วันพุธที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

Reference Range for Lipid Panel in Adult

Reference Range for Lipid Panel in Adult

LDL Cholesterol
Optimal: Less than 100 mg/dL (2.59 mmol/L); for those with known disease (ASCVD * or diabetes), less than 70 mg/dL (1.81 mmol/L) is optimal
Near/above optimal: 100-129 mg/dL (2.59-3.34 mmol/L)
Borderline high: 130-159 mg/dL (3.37-4.12 mmol/L)

High: 160-189 mg/dL (4.15-4.90 mmol/L)
Very high: Greater than 190 mg/dL (4.90 mmol/L)


Total Cholesterol
Desirable: Less than 200 mg/dL (5.18 mmol/L)
Borderline high: 200-239 mg/dL (5.18 to 6.18 mmol/L)
High: 240 mg/dL (6.22 mmol/L) or higher


HDL Cholesterol
Low level, increased risk: Less than 40 mg/dL (1.0 mmol/L) for men and less than 50 mg/dL (1.3 mmol/L) for women
Average level, average risk: 40-50 mg/dL (1.0-1.3 mmol/L) for men and between 50-59 mg/dl (1.3-1.5 mmol/L) for women
High level, less than average risk: 60 mg/dL (1.55 mmol/L) or higher for both men and women


Fasting Triglycerides
Desirable: Less than 150 mg/dL (1.70 mmol/L)
Borderline high: 150-199 mg/dL(1.7-2.2 mmol/L)
High: 200-499 mg/dL (2.3-5.6 mmol/L)
Very high: Greater than 500 mg/dL (5.6 mmol/L)


Non-HDL Cholesterol
Optimal: Less than 130 mg/dL (3.37 mmol/L)
Near/above optimal: 130-159 mg/dL (3.37-4.12mmol/L)
Borderline high: 160-189 mg/dL (4.15-4.90 mmol/L)

High: 190-219 mg/dL (4.9-5.7 mmol/L)
Very high: Greater than 220 mg/dL (5.7 mmol/L)



Unhealthy lipid levels and/or the presence of other risk factors such as age, family history, cigarette smoking, diabetes and high blood pressure, may mean that the person tested requires treatment.

* atherosclerotic cardiovascular disease (ASCVD)

credit from https://labtestsonline.org/understanding/analytes/lipid/tab/test

อาการของไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง (Symptoms of Chronic Hepatitis B)

อาการของไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง 
(Symptoms of Chronic Hepatitis B) 

ในผู้ใหญ่ที่เป็นไวรับตับอักเสบบีฉับพลัน (Acute Hepatitis B) พบการเป็นเรื้อรังน้อยกว่าร้อยละ 5 โดยทั่วไปจะหายไปในเวลา 2-3 เดือนและต้องหายใน 6 เดือน 

A, resolution of active infection; B, progression to chronic infection.
credit: http://www.worldgastroenterology.org/guidelines/global-guidelines/hepatitis-b/hepatitis-b-english

ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถกำจัดไวรัสตับอักเสบบีออกจากร่างกายได้ภายในเวลาดังกล่าว เรียกว่า ตับอักเสบบีเรื้อรัง (Chronic Hepatitis B) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักไม่สามารถกำจัดไวรัสตับอักเสบบีออกจากร่างกายตลอดชีวิต ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีออกจากร่ายกายและเป็นเรื้อรังคือ 
*** การติดเชื้อขณะอายุน้อย โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 1 ปี 
*** ได้รับยากดภูมิต้านทาน หรือมีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำจัดไวรัสตับอักเสบบีต้องอาศัยภูมิต้านทาน เช่น บางครั้งยาลูกกลอนหรือยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของสารสเตอรอยด์ (Steroid) จะกดการทำงานของเม็ดเลือดขาวซึ่งสร้างภูมิต้านทาน ได้  
*** ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้การทำงานของภูมิต้านทานไม่ปกติ 

    เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง (Chronic Hepatitis B ; CHB) เชื้อไวรัสจะฝังอยู่ในตับตลอดเวลา และอาจแบ่งโรคออกได้เป็น 3 ระยะ สำคัญๆ คือ 
1 Immune tolerance ระยะที่มีเชื้อมากแต่โรคสงบ พบว่าในระยะแรกๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกคลอด ช่วงอายุน้อยๆ 10-15 ปีแรกของชีวิต แม้มีปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเลือดและในตับมากมายแต่ไม่มีการอักเสบของตับเลย ทั้งนี้เพราะภูมิต้านทานหรือเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยยังตรวจไม่พบว่ามีเชื้อแปลกปลอมแฝงอู่ในตับของผู้ป่วย การตรวจเลือดจะมีปริมาณไวรัสมากมายในเลือด (HBV DNA) แต่การทำงานของตับปกติ (AST/ALT) หากมีการตรวจพยาธิวิทยาของตับก็มักไม่พบการอักเสบของตับ 

2 Immune clearance ระยะนี้ภูมิต้านทานของผู้ป่วยเริ่มตรวจพบว่ามีไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในตับ จึงพยายามกำจัดหรือควบคุมไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในเซลตับ การทำลายไวรัสตับอักเสบบี เม็ดเลือดขาวจึงต้องทำลายเซลตับของผู้ป่วยด้วย ทำให้มีการตายของเซลตับเกิดภาวะตับอักเสบขึ้น เกิดเกิดตับอักเสบ จะพบว่ามีระดับ AST/ALT สูงขึ้น อาจ 2-5 เท่า เช่น ระดับประมาณ 80-200 U/L (หน่วย/ลิตร) (ค่าปกติ AST และ ALT ประมาณไม่เกิน 40 U/L อาจแตกต่างบ้างเล็กน้อยตามแต่ละห้องปฏิบัติการ) การเกิดการอักเสบขนาดนี้มักไม่มีอาการอะไร ไม่มีตาเหลืองตัวเหลืองเหมือนตับอักเสบเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่ภูมิต้านทานแข็งแรงดีการอักเสบอาจเกิดไม่นานไม่กี่เดือนก็ควบคุมไวรัสได้เข้าสู่ระยะสงบ หากการอักเสบเกิดนานๆ มีการตายของเซลตับมากๆ ในที่สุดเมื่อเข้าสู่ระยะสงบ การอักเสบและไวรัสลดลงเหมือนกัน แต่ตับอาจกลายเป็นตับแข็งไปแล้ว เพราะผ่านการอักเสบมานาน 

Credit : http://hepbblog.org/2013/08/13/diagnosed-with-chronic-hepatitis-b-what-phase-immune-clearance/


3 Non-replicative   ระยะโรคสงบเชื้อน้อย ระยะนี้จะพบว่าการทำงานของตับปกติ หากตรวจเชื้อไวรัสก็จะน้อย อาจเพียงเป็นหลักร้อยหรือหลักพันตัว (copies) การตรวจ HBeAg จะให้ผลลบ ผู้ที่ผ่านระยะที่สองมาได้ก็จะเข้าสู่ระยะนี้ ซึ่งขึ้นกับว่ากว่าจะผ่านระยะที่สองนานเท่าใด บางท่านอักเสบอยู่ไม่กี่เดือนก็เข้าสู่ระยะสงบ ตับก็เกือบปกติ บางท่านผ่านการอักเสบช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่อยู่หลายเดือนกว่าจะเข้าสู่ระยะสงบ ตับอาจเสื่อมไปมากแล้ว แม้ผลการทำงานของตับเป็นปกติแต่ตับผู้ป่วยอาจเป็นตับแข็งไปแล้วก็ได้  โปรดอย่าเข้าใจว่าผู้ที่เป็นตับแข็ง จะต้องมีอาการหรือผลเลือด (AST/ALT) ผิดปกตินะครับ เพราะหากมีอาการแสดงว่าต้องเป็นมากๆแล้วระยะสุดท้ายเท่านั้น 
      

 ภาพแสดงระยะต่างๆของไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง Credit: http://slideplayer.com/slide/6361061/ 

       ในอดีตเรามักเรียกผู้ป่วยในระยะนี้ว่า พาหะไวรัสตับอักเสบบี ทำให้ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจ นึกว่าไม่ได้เป็นอะไร แต่ความจริงผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีตับแข็ง อาจเกิดภาวะตับวายในอนาคตหรือเกิดมะเร็งตับได้ จึงพยายามไม่เรียกว่า พาหะ อีกแต่เรียกเป็น ไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังระยะสงบ (Inactive chronic carrier phase) ดูจะดีกว่า ที่สำคัญคือ ระยะต่างๆ ทั้ง 3 ที่กล่าวมานี้มีการกลับไปกลับมาได้ตลอด ระยะสงบก็อาจกลับไปกำเริบ โดยอาจไม่มีอาการอะไรเลย และอาจไม่ต้องมีตัวกระตุ้นก็ได้ ดังนั้นผู้ป่วยแม้อยู่ในระยะสงบ ก็ควรได้รับการตรวจสัก 3-6 เดือนต่อครั้ง เพื่อดูว่ามีการอักเสบหรือไม่ ในระยะนี้จะมี HBsAg ให้ผลบวก แต่ 80% HBeAg จะเปลี่ยนจากบวกไปเป็นลบ ขณะที่ Anti-HBe เปลี่ยนจากผลลบมาเป็นผลบวก เรียกว่าเกิด seroconversion 


 
For as long as HBsAg is detectable, the patient's blood and other bodily fluids are infectious for hepatitis B. The presence of HBeAg indicates very rapid viral replication. The presence of antiHBs signifies recovery or successful immunisation with seroconversion 
credit : http://www.mims.com/India/diagnoses/info/1095?q=S.antiHBs 

บรรณานุกรม และ website เพิ่มเติม 
1  รศ.นพ.ทวีศักดิ์  แทนวันดี ไวรัสตับอักเสบบีและซี ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ  2  ภาพประกอบจาก http://www.worldgastroenterology.org/guidelines/global-guidelines  /hepatitis-b/hepatitis-b-english
3  ภาพประกอบจาก http://hepbblog.org/2013/08/13/diagnosed-with-chronic-hepatitis- b-what-phase-immune-clearance/
4  ภาพประกอบจาก http://slideplayer.com/slide/6361061/
5  ภาพประกอบจาก
http://www.mims.com/India/diagnoses/info/1095?q=S.antiHBs 
6  http://visitdrsant.blogspot.com/2010/07/blog-post.html 

Updated 25 MAY 2016 
By Retromedtech 

อาการของไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน (Symptoms of Acute Hepatitis B Infection)

A, resolution of active infection; B, progression to chronic infection.
credit: http://www.worldgastroenterology.org/guidelines/global-guidelines/hepatitis-b/hepatitis-b-english
 
อาการของไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน 
(Symptoms of Acute Hepatitis B Infection)  

    หลักจากไวรัสตับอักเสบบีเข้าสู่ร่างกาย เชื้อไวรัสจะไปซุกซ่อนฟักตัวในตับ โดยระยะฟักตัว ตั้งแต่ 1 ถึง 4 เดือน โดยเฉลี่ย 2-3 เดือน พบว่าเพียงร้อยละ 30 เท่านั้นที่มีอาการ ที่เหลืออาจไม่มีอาการชัดเจน ดังนั้นท่านไม่ต้องแปลกใจ หากไปตรวจเลือดพบว่า ท่านเคยเป็นไวรัสตับบี Anti-HBc = Positive(+) และมี ภูมิคุ้มกันแล้ว Anti-HBsหรือHBsAb = Positive(+)   โดยท่านไม่เคยมีอาการตับอักเสบเลย 

   หลังจากระยะฟักตัวแล้วในผู้ป่วยที่มีอาการจะเริ่มด้วยอาการนำคือ 
อาการปวดเมื่อยตามตัว (joint pain and body aches)
เบื่ออาหาร การรับรสอาจเปลี่ยนไป (Loss of appetite for food)
อ่อนเพลีย (weakness)
ไข้ต่ำๆ (Fever)
คลื่นไส้ และ อาเจียน(nausea and vomitting)
เหนี่อยง่าย (Fatigue)
บางรายมีจุกๆ บริเวณชายโครงขวา pain in the right upper side of the abomen (stomach) หรือยอดอกก่อนจะเริ่มสังเกตว่า ปัสสาวะเหลืองเข้มกว่าปกติและตาเหลือง Dark-colored urine or light-colored or gray bowel movements (BMs) 
ตอนนี้ผู้ป่วยมักมาพบแพทย์ อย่างไรก็ตามพอเริ่มตาเหลืองแล้ว โดยทั่วไปอาการนำจะค่อยๆลดลง แม้อาการดีซ่านจะเพิ่มขึ้น (jaundice : yellowing of the skin or the whites of the eyes) แต่เริ่มรับประทานอาหารได้ อ่อนเพลียน้อยลง  
    ในระยะนี้ หากตรวจเลือดจะพบว่าระดับเอนไซม์ตับ AST และ ALT สูงมาก เช่น 1000-2000 U/L (หน่วยต่อลิตร) (ค่าปกติ AST และ ALT ประมาณน้อยกว่า 40 U/L ซึ่งต่างกันเล็กน้อยตามแต่ละห้องปฏิบัติการ) ก็ไม่ต้องตกใจ เพราะว่าเป็นปกติของไวรัสตับอักเสบที่จะมีระดับ AST/ALT สูง การประเมินว่าโรครุนแรงหรือไม่ให้ดูจากอาการ ซึ่งหากเริ่มเหลืองแล้วโดยทั่วไป อาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหารจะค่อยๆลดลง แม้ว่าจะเหลืองมากขึ้นก็อย่าตกใจ ในทางตรงกันข้ามบางคนผลเลือดไม่สูงมากหรือลดลงเร็วๆ แต่อาการทรุดลงด้วยแสดงว่าเป็นโรคมาก   
    การที่ระดับเลือดลดลงในกรณีนี้แสดงว่าเนื้อตับตายจำนวนมาก และอาจเกิด ภาวะตับวาย (Liver failure)  คือมีการสูญเสียการทำงานของตับตามมาได้ แม้จะพบได้น้อย แต่ก็อันตรายมาก
    หลังจากเริ่มเหลือง (่jaundice) อาการของผู้ป่วยจะค่อยๆดีขึ้นเรื่อยๆ ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติ โดยสามารถกำจัดไวรัสออกจากร่างกายและมี ภูมิต้านทานเกิดขึ้น Anti-HBs หรือ HBsAb =Positive(+) ซึ่งจะป้องกันเชื้อไวรัสตับอักเสบบีไปได้ตลอดชีวิต และตับก็กลับมาปกติ ไม่มีพังผืดหรือแผลเป็นใดๆ หลงเหลือแม้ว่าตอนทีมีการอักเสบผลเลือดจะสูงมากก็ตาม 
 ภาพแสดงอาการและสัญญาณบ่งบอกไวรัสตับอักเสบบี 
credit : http://tracksify.com/hepatitis-b-causes-symptoms-treatments-preventions/


ภาพแสดงอาการบ่งบอกไวรัสตับอักเสบบีแบบเฉียบพลัน 
credit: http://jayeshmodi1986.blogspot.com/2016/03/hepatitis-b.html

 ภาพแสดงอาการบ่งบอกการติดเชื้อไวรัสตับอีกเสบบีแบบเฉียบพลัน credit : http://liberatehealth.us/liberate_condition/hepatitis/hepatitis-b-condition-full-deck/

บรรณานุกรม 
1 รศ.นพ.ทวีศักดิ์  แทนวันดี ไวรัสตับอักเสบบีและซี ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ 
2 ภาพประกอบจาก http://www.worldgastroenterology.org/guidelines/global-guidelines/hepatitis-b/hepatitis-b-english
3 ภาพประกอบจาก http://tracksify.com/hepatitis-b-causes-symptoms-treatments-preventions/
4 ภาพประกอบจาก http://jayeshmodi1986.blogspot.com/2016/03/hepatitis-b.html
5 ภาพประกอบจาก http://liberatehealth.us/liberate_condition/hepatitis/hepatitis-b-condition-full-deck/  

updated : 25 MAY 2016  

วันอังคารที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

ไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดโรคตับได้อย่างไร

ไวรัสตับอักเสบบีทำให้เกิดโรคตับได้อย่างไร 
คัดลอกจาก ไวรัสตับอักเสบบีและซี ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ
เรียบเรียงโดย รศ.นพ.ทวีศักดิ์  แทนวันดี 
สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล


     การก่อภาวะตับอักเสบของไวรัสตับอักเสบบีน่าสนใจมาก เพราะตัวไวรัสตับอักเสบบี เองไม่ได้ทำลายตับโดยตรงอย่างที่หลายท่านเข้าใจ การเกิดตับอักเสบของไวรัสตับอักเสบบี เกิดตับอักเสบจากปฏิสัมพันธ์ระหว่างไวรัสตับอักเสบบีที่อยู่ในเซลล์ตับ กับภูมิต้านทานของเรา ซึ่งส่วนใหญ่คือเม็ดเลือดขาวซึ่งทำหน้าที่เหมือนตำรวจคอยตรวจตราความเรียบร้อยให้ร่างกาย แม้มีไวรัสตับอักเสบบี จำนวนมาก หากเม็ดเลือดขาวไม่สามารถตรวจพบว่ามีไวรัสตับบี ในร่างกายก็ไม่ทำให้เกิดการอักเสบ  
     ในกรณีที่ติดเชื้อตั้งแต่วัยเด็ก พบว่า ในระยะแรกๆ ของการติดเชื้อช่วง 10-15 ปีแรก จะเป็นเช่นนี้คือ ปริมาณไวรัสมากมาย แต่การทำงานของตับปกติจนเข้าสู่วัยรุ่น เม็ดเลือดขาวเริ่มสังเกตว่ามีสิ่งแปลกปลอมอยู่ในเซลตับจึงพยายามทำลายไวรัสตับอักเสบบี  แต่เนื่องจากไวรัสอยู่ในเซลตับ การทำลายไวรัสตับบี จึงเป็นผลให้เซลตับถูกทำลายไปด้วย  
     สิ่งที่ช่วยให้ภูมิต้านทานของเราทำงานได้ดีและมีประสิทธิภาพคือ สารอินเตอร์เฟอรอน (interferon)
หากภูมิต้านทานของเราแข็งแรง มีสารช่วยทำงานเพียงพอก็สามารถทำลายไวรัสตับอักเสบบีได้รวดเร็ว การอักเสบก็เกิดในระยะเวลาสั้น ในที่สุดก็อาจกำจัดไวรัสตับอักเสบบีได้ถาวรหรือควบคุมได้โดยไวรัสเหลือน้อยมากๆ ไม่เป็นปัญหาไปกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยากับเม็ดเลือดขาวต่อไป การอักเสบก็ลดลง ขณะเดียวกัน ตับก็มีเวลาฟักพื้น อาการก็จะค่อยๆดีขึ้น ตามลำดับ 
     ในทางกลับกันหากภูมิต้านทานเราไม่เก่งพอหรือมีสารต่างๆโดยเฉพาะสารอินเตอร์เฟอรอน (interferon) ไม่เพียงพอ ปฏิกิริยาต่างๆก็เกิดต่อเนื่องทำให้เซลตับถูกทำลายตลอดเวลา ผลก็คือเซลตับเหลือลดลงเรื่อยๆ และถูกแทนที่ด้วยแผลหรือเป็นพังผืด หากมีพังผืดมากๆก็เกิดภาวะที่เรียกว่า ตับแข็งจากการที่มีพังผืดมากๆ ซึ่งหากเกิดตับแข็งที่ทำให้มีเนื้อตับดีเหลือน้อยลงทำให้เกิดการสร้างสารต่างๆ ได้ลดลง ทำให้ตับเสื่อมหน้าที่ลง ร่วมกับการมีเนื้อเยื่อพังผืดมากๆทำให้รัดหลอดเลือดในตับ ทำให้ความดันในหลอดเลือดดำพอร์ตัลสูงเกิดเส้นเลือดขอดที่หลอดอาหารและอาเจียนเป็นเลือดได้ การเกิดตับแข็งจะเป็นสิ่งสำคัญในการเกิดมะเร็งตับ นอกจากนั้นไวรัสตับอักเสบบี ยังอาจแทรกตัวเข้ากับสายดีเอ็นเอของเราก่อมะเร็งได้อีกทางหนึ่ง
     ดังนั้นพึงเข้าใจว่า ไวรัสตับอักเสบบี ไม่ได้ทำลายตับโดยตรงและปริมาณไวรัส หากมากก็ไม่จำเป็นต้องมีการอักเสบมากครับ 

 ภาพแสดงลำดับขั้นการเกิดทำลายเซลตับจากไวรัสตับซี credit http://www.ezeeradiosvg.com/2015/10/14/ezee-knowledge-bank-signs-of-liver-damage-that-everybody-ignores/


ภาพแสดงลำดับขั้นการทำลายเซลตับจากไวรัสตับอักเสบบี credit :  http://www.slideshare.net


updated : 25 MAY 2016 
 By Santi Subbhasri
 

การตรวจวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบชนิด บี (Hepatitis B)

การตรวจวินิจฉัยไวรัสตับอักเสบชนิด บี (Hepatitis B)

          Hepatitis เป็นคำทั่วไปหมายถึง การอักเสบของตับและสามารถเกิดจากความหลากหลายของไวรัสที่แตกต่างกัน เช่น ไวรัสตับอักเสบ A, B, C, D และ E โดยไวรัสตับอักเสบ A และ E จะติดต่อจากการกินอาหารเป็นหลัก เมื่อหายขาดจะไม่เป็นโรคเรื้อรังจากไวรัสตับอักเสบA พบได้ประปรายในประเทศไทย ส่วนไวรัสตับอักเสบE ยังไม่มีรายงานเป็นทางการในประเทศไทย แต่พบรายงานเป็นช่วงๆในประเทศเพื่อนบ้าน
          ไวรัสตับอักเสบC เป็นไวรัสที่ติดต่อจากการรับเลือดหรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกันเป็นหลักและเป็นเรื้อรังได้มากที่สุดพบในประเทศไทยร้อยละ 1-2 ของประชากร 
          ไวรัสที่สำคัญที่สุดในประเทศไทยคือไวรัสตับB ซึ่งพบได้ถึงกว่าร้อยละ 6-10 ของประชากรหรือกว่า 6-7 ล้านคนในประชากรกว่า 60 ล้านคน ซึ่งสูงเช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และอัฟริกา พบทั่วโลกประมาณ 240 ล้านคน (หรือ 6 % ของประชากรทั้งโลก ข้อมูลประมาณการณ์ปี 2012 จาก APASL) 
           สำหรับประเทศไทยการรับเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจากมารดาเป็นพาหะติดต่อสู่ทารกตอนคลอด เนื่องจากภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่ดีพอ การกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีจึงยากนอกจากนี้ไวรัสตับอักเสบบี สามารถติดต่อทางเลือด เช่น การรับเลือดหรือผลิตภัณฑ์ของเลือด (ปัจจุบันการติดต่อทางนี้ลดลงเนื่องจากมีการตรวจคัดกรองเมื่อมีการบริจาคเลือด) ,จากเข็มฉีดยาร่วมกัน การฝังเข็มหรือเครื่องมือต่างๆที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสตับอักเสบบี เชื้อไวรัสตับอักเสบบี สามารถตรวจพบได้ในสารคัดหลั่ง เช่น น้ำตา น้ำมูกในโพรงจมูก น้ำอสุจิ เยื่อเมือกช่องคลอด เลือดประจำเดือน และน้ำคร่ำ ดังนั้นจึงสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์และการสัมผัสกับสารคัดหลั่งดังกล่าว ไวรัสตับอักเสบบีไม่ติดต่อทางการรับประทานร่วมกัน โอกาสติดเชื้อน้อยมาก ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B) ค้นพบเมื่อปี พ.ศ. 2507 (ค.ศ.1964 โดย นายแพทย์ Baruch Samuel Blumberg ที่มา https://en.wikipedia.org/wiki/Baruch_Samuel_Blumberg ) โดยไวรัสตับอักเสบ บี เป็น DNA เพียงตัวเดียว (ไวรัสตับอักเสบที่เหลือเป็น RNA) ดังภาพ (credit : slideshare.net)

          การวางตัวของสารพันธุกรรมไวรัสตับอักเสบบี จะมีลักษณะทรงกลม ประกอบด้วย 
HBsAg (Hepatitis B surface Antigen) ห่อหุ้ม ภายในเปลือกของ HBsAg จะมีสาย DNA และมีส่วนโปรตีนกลาง เรียกว่า HBcAg (Hepatitis B core Antigen)  คลุมทั่วไปดังภาพ 

           HBsAg มีความสำคัญในการตรวจคือ ผู้ป่วยที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี(มีเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในร่างกาย) จะตรวจพบว่า บวก(Positive) โดยหากมีภูมิต้านทานต่อส่วน HBsAg จะตรวจพบ HBsAb (Hepatitis B surface Antibody หรือ Anti-HBs) ซึ่งภูมิคุ้มกันนี้หาก บวก (Positive) แสดงถึง มีภูมิต้านทานที่สามารถป้องกันการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีซ้ำ โดยอาจพบหลังจากหายจากการติดเชื้อหรือภายหลังการฉีดวัคซีน
       HBcAg ไม่ออกมานอกเซลล์ตับ โดยร่างกายจะตอบสนองโดยการสร้างภูมิต่อส่วนนี้เรียกว่า HBcAb (Hepatitis B core Antibody หรือ Anti-HBc) ซึ่งภูมิคุ้มกันนี้หาก บวก (Positive) แสดงถึงการเคยได้รับไวรัสตับอักเสบบี มาก่อน ูมินี้ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ มักคงอยู่ตลอดไป 
             หากนำโปรตีน HBcAg หากถูกตัดให้เล็กลงจะออกมานอกเซลล์ตับได้เรียกว่า HBeAg (Hepatitis B envelope Antigen) โดยใช้เป็นตัวบ่งบอกทางอ้อมว่ามีไวรัสแบ่งตัวออกมาก ร่างกายผู้ป่วยมีไวรัสตับอักเสบบีมาก และหากไวรัสเข้าสู่ระยะสงบจะมี HBeAg เป็น ลบ(Negative) และ HBeAb (Hepatitis B envelope Antibody หรือ Anti-HBe) เป็นบวกแทน แต่อาจพบกรณีเชื้อมีกลายพันธุ์โดยมีเชื้อมากแต่ไม่ผลิต HBeAg ซึ่งพบได้บ่อยหากอายุมากขึ้น 



 picture credit: http://www.hivguidelines.org/clinical-guidelines/adults/hepatitis-b-virus/
  ภาพแสดงการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี แบบเฉียบพลัน (Acute Hepatitis B Virus Infection) และ Marker ที่ตรวจพบ แกนนอน=สัปดาห์ แกนตั้ง=ระดับความเข้มข้น(titer)  

Interpretation (การแปลผลการตรวจ)
 credit : http://www.natap.org/2005/HBV/102405_01.htm
+ แสดงถึง ผลบวก 
- แสดงถึง ผลลบ
 +/- หมายถึง ผลบวกหรือผลลบ ก็ได้

 HBsAg = Positive(+) หมายถึง พบเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในร่างกาย
            = Negative(-) หมายถึง ไม่พบเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ในร่างกาย

Anti-HBs = Positive(+) หมายถึง มีภูมิคุ้มกันต่อเปลือกของไวรัส (อาจพบหลังจากหายหรือฉีดวัคซีน)
             = Negative(-)  หมายถึง ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อเปลือกของไวรัส (ปกติคนเราจะเป็นลบ) 

HBeAg = Positive(+) หมายถึง มีไวรัสระยะที่กำลังแบ่งตัวมากในร่างกาย มักพบในผู้ป่วยอายุน้อยๆ 

Anti-HBe = Positive(+) หมายถึง มีภูมิคุ้มกันต่อยีนไวรัสซึ่งป้องกันไม่ให้ไวรัสแบ่งตัวในร่างกาย
(Anti-HBe มักจะตรงข้ามกับ HBeAg ร่วมกับผลการทำงานของตับ (ALT) เช่น HBeAg(-)และAnti-HBe(+) ร่วมกับผลการทำงานของตับปกติ (ALT=Normal มักแสดงว่า เชื้อไวรัสตับอักเสบบี อยู่ในระยะสงบและมักพบเชื้อปริมาณน้อย อย่างไรก็ตามในผู้ป่วยที่อายุมากขึ้น ไวรัสตับอักเสบบีที่อยู่ในร่างกายนานๆ อาจปรับตัวเพื่อหลบหลีกภูมิต้านทานของร่างกาย บางครั้งไวรัสตับอักเสบบีอาจไม่ผลิต HBeAg แต่ยังมีการอักเสบของตับอยู่ (HBeAg ผลลบ แต่ตับยังอักเสบ) อาจเป็นไปได้ว่าตับอักเสบนี้อาจเกิดจากไวรัสตับอักเสบบีชนิดที่กลายพันธุ์ หรือจากสาเหตุอื่นๆ ในการตรวจจึงต้องนับจำนวนไวรัสตับอักเสบบีโดยตรงด้วยการตรวจที่เรียกว่า HBV DNA โดยทั่วไปหากเป็นสายพันธุ์ที่กลายพันธุ์แล้วมักจะมีเชื้อเป็นแสนๆ หรือมากกว่าอยู่ ในการรักษากลุ่มนี้อาจต้องรักษานานกว่าและไม่มีตัวติดตาม แพทย์อาจแนะนำให้เจาะตับก่อนการรักษา

Anti HBc = Positive(+) หมายถึงเคยได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซึ่งเป็นภูมิที่ไม่ได้ป้องกันการติดเชื้อ 
HBV DNA = หมายถึงปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ปกติจะรายงานค่าเป็นตัวเลข เช่น IU/ml หรือ copies/ml (1 IU = 5.6 copies)


ภาพแสดงแนวทางการรักษาไวรัสตับอักเสบบี (กรณี HBeAg ให้ผลบวก)

Algorithm showing guideline recommendations for the treatment of patients with HBeAg-positive CHB. *APASL recommends monitoring every 1 to 3 months. EASL: age, >30 years; AASLD and APASL: age >40 years.
ULN (upper limit of normal) ค่าปกติที่สูงที่สุดโดย The AASLD (America Association for the Study of Liver Diseases) กำหนด ULN สำหรับ ALT 30 U/L สำหรับชาย และ 19 U/L สำหรับหญิง
ที่มา credit:http://www.medscape.com/viewarticle/818901_3
EASL (European Association for the Study of the Liver)
APASL (The Asia Pacific Association for the Study of the Liver)



บรรณานุกรมและWebsite ข้อมูลเพิ่มเติม
1 รศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี ไวรัสตับอักเสบบีและซี ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ สนับสนุนการพิมพ์โดย บ. MSD
2 ศ.พญ.ชุติมา ประมูลสินทรัพย์ มูลนิธิตับแห่งประเทศไทย http://www.thailiverfoundation.org     /th/cms/detail.php?id=32
3 https://en.wikipedia.org/wiki/Baruch_Samuel_Blumberg
4 ภาพประกอบ HBV structure จาก slideshare.net
5 ภาพประกอบจาก http://www.hivguidelines.org/clinical-guidelines/adults/hepatitis-b-virus/
6 ภาพประกอบจาก http://www.natap.org/2005/HBV/102405_01.htm
7 https://labtestsonline.org/understanding/analytes/hepatitis-b/tab/test/ 
8 http://www.medscape.com/viewarticle/818901_3
9 http://www.aasld.org/
10 http://www.easl.eu/
11 http://apasl.info/
 12 http://www.who.int/csr/disease/hepatitis/whocdscsrlyo20022/en/index1.html
 
   






   
        

วันพฤหัสบดีที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2559

การหลีกเลี่ยงการปวดหัวไมเกรนจากการออกกำลังกาย

การหลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่อาจทำให้เกิดการปวดหัวไมเกรน สรุปคร่าวๆ ดังนี้
1) เนื่องจากร่างกายคนเราประกอบด้วยน้ำ 60 % จึงควรดื่มน้ำให้เพียงพอ ถ้ามีอาการไมเกรนอาจเกิดจากการขาดสารน้ำ(fluid) ควรเช็คการขาดน้ำจากปัสสาวะของคุณ ซึ่งปัสสาวะต้องไม่มีสี หรือสีเหลืองอ่อนๆ ถ้าปัสสาวะสีเหลืองเข้มหรือเหลืองอำพันจะเป็นตัวบ่งบอกว่าคุณขาดน้ำหรือต้อง ดื่มน้ำเพิ่ม
2) ทานอาหารก่อนออกกำลังกาย 1 ชั่วโมงครึ่ง หลีกเลี่ยงอาหารหวานขยะ (sugary junk food) ซึ่งเป็นสาเหตุให้น้ำตาลในเลือดต่ำ การใช้ผงโปรตีน(Protein Shake) และผลไม้ จะเป็นอาหารช่วยพื้นฟูที่ดี ผลไม้ที่อุดมไปด้วยไฟเบอร์จะช่วย คง น้ำตาล และ ไกลโคเจน(แหล่งให้พลังงานหลักของร่างกาย) ทำให้น้ำตาลในร่ายกายคงที่
3) วางแผนการออกกำลังกาย ถ้าคุณเป็นมือใหม่หัดเล่นในยิมส์ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยในการออกกำลังกาย ที่จะช่วยให้คุณหลีกเลี่ยงการบาดเจ็บและลดความเสี่ยงของอาการปวดหัว หรือหากออกกำลังกายที่ไม่มีห้องออกกำลังกายโดยใช้น้ำหนัก (Stairmaster or weight room) ออกกำลังที่ความหนักปานกลาง ใน ระดับความเข้มของ 7 หรือ 8 หรือ 5 หรือ 6
4) อาการปวดหัวอาจเกิดขึ้นขณะที่คุณออกกำลังกาย ดังนั้นถ้าคุณมีแนวโน้มที่จะปวดหัวอาจจะออกแรงเบาๆที่ 15-40 ครั้ง ก็เพียงพอที่จะได้รับการออกกำลังกายที่ดี แต่ไม่สูงมากจนก่อให้เกิดอาการปวดหัว ถ้าใบหน้าของคุณจะเปลี่ยนเป็นสีแดง มีการขับเหงื่อที่มากเกินไปหรือร้อน นั่นคือคุณออกกำลังกายหนักเกินไป
5) ไม่ว่าระดับการออกกำลังกายระดับใดก็ต้องมีการยึดเหยียด(warming up) 10 ถึง 15 นาที เพื่อป้องกันการเกิดไมเกรน ทั้งเริ่มต้นและสิ้นสุดของการออกกำลงกายของคุณจะช่วยป้องกันไม่ให้เกิดการ ความตึงตัวของกล้ามเนื้อ
6) หากทำตามขั้นตอนข้างต้นแล้วยังเกิดไมเกรนก็ควรปรึกษาแพทย์ ซึ่งอาจจดบันทึกภาวะการเจ็บป่วยของคุณไว้ อย่างไรก็ตามการออกกำลังก็สามารถเพิ่มการสุญเสียน้ำหนัก(ลดน้ำหนัก), เพิ่มกระบวนเผาผลาญน้ำตาลกลูโคส (ดีสำหรับผู้ที่มีโรคเบาหวาน) เพิ่มการนอนหลับ และลดอาการปวดเรื้อรังต่างๆ 


ข้อมูล  http://www.webmd.com/migraines-headaches/features/avoid-exercise-related-migraines