การตรวจปัสสาวะ
(Urinalysis)
1.
วัตถุประสงค์
เพื่อช่วยวินิจฉัย
และบอกความรุนแรงของโรค
การดำเนินของโรค
ที่เกี่ยวกับความผิดปกติของเมตาบอลิซึ่มและหน้าที่ของไต
2.
หลักการของวิธีการทดสอบ
2.1 การตรวจปัสสาวะทางกายภาพ (Physical examination)
เป็นการตรวจดูลักษณะทั่ว
ๆ ไปของปัสสาวะโดยดูสี
ความขุ่นด้วยตาเปล่าและการวัดความถ่วงจำเพาะ ซึ่งเป็นการวัดดรรชนีหักเหของสารที่ละลายในน้ำ
2.2 การตรวจปัสสาวะทางเคมี (Chemical examination)
เป็นการตรวจโดยใช้แถบน้ำยาสำเร็จรูปซึ่งเคลือบด้วยน้ำยาเคมีที่ใช้ในการตรวจหาสารต่างๆ
ในปัสสาวะ เมื่อจุ่มแถบน้ำยาให้ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการตรวจในปัสสาวะจะเกิดสีขึ้นและนำไปเทียบสีกับแถบมาตรฐาน
ความเข้มของสีจะเป็นปฏิภาคโดยตรงกับปริมาณสารที่มีอยู่ในปัสสาวะ
การตรวจ
pH : ใช้คุณสมบัติการเปลี่ยนสีของสารบ่งชี้ (indicator)
2 ตัว
ที่เคลือบบนแถบทดสอบคือ Methy red และ Bromthymol
blue สามารถวัด pH ได้ตั้งแต่ 5.0 – 9.0 และมีช่วงการเปลี่ยนแปลงจากสีส้มจนถึงสีน้ำเงิน
การตรวจ
Protein
: แถบทดสอบจะเคลือบอินดิเคเตอร์ Tetrabromphenol blue และ buffer (เพื่อรักษากรดให้คงที่ ที่ pH
3.0) ถ้ามีโปรตีนสีของอินดิเคเตอร์จะเปลี่ยนจากสีเหลืองเป็นสีเหลืองอมเขียว
หรือเขียวจนถึงน้ำเงิน
การตรวจ
Glucose
: เป็นการทดสอบหากลูโคส โดยอาศัยปฏิกิริยาของเอนไซม์ glucose
oxidase/peroxidase ดังปฏิกิริยาต่อไปนี้
Glucose
oxidase
Glucose + O2 gluconic acid + H2O2
|
H2O2 + Chromogen oxidized chromogen + H2O2
การตรวจ Ketone : ใช้หลักการของ Legal’s
test-nitroprusside โดย Acetoacetic acid จะทำปฏิกิริยากับ nitroferricanide ในตัวกลางที่มีฤทธิ์เป็นด่าง จะได้สีม่วงของ dye-complex เกิดขึ้น
การตรวจ Occult blood : Hemoglobin
และ Myoglobin จะเร่งปฏิกิริยาออกซิเดชั่น
ระหว่าง peroxidase และ chromogen ทำให้เกิดสี
โดยบนแถบทดสอบประกอบด้วย Cumene hidroperoxide กับ chromogen
ได้แก่ o-Tolidine
โดยจะเกิดสารที่มีสีตั้งแต่จุดสีเขียว, เขียวจนถึงสีน้ำเงินเข้ม
การตรวจ Bilirubin : Bilirubin จะรวมตัวกับ diazonium
salt (diazotization coupling reaction) ในภาวะที่เป็นกรดอย่างแรงเกิดเป็น
bilurubin azo pigment ความเข้มข้นของสีที่เกิดขึ้น
จะขึ้นกับปริมาณความเข้มข้นของสารบิลิรูบินและสีที่เกิดจะขึ้นกับ diazonium
salt
การตรวจ Urobilinogen : ใช้หลักการของ Modefied
Ehrlich’s reaction โดย Urobilinogen
จะทำปฏิกิริยากับ Ehrlich’s reagen ซึ่งเป็นสารประกอบสีชมพู และความเข้มข้นของสีที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับปริมาณสาร
Urobilinogen ในปัสสาวะ
การตรวจ Nitrite : Nitrite ในปัสสาวะจะถูกรีดิวซ์โดยแบคทีเรียได้เป็น Nitrite,
Nitrite ที่เกิดขึ้นจะทำปฏิกิริยากับ nromatic amine ในตัวกลางที่เป็นกรด
ได้เป็นเกลือของ diazonium ซึ่งจะทำปฏิกิริยากับ aromatic
compound ให้สี azo dye
การตรวจ Specific Gravity :
อาศัยหลักการที่ว่า Protron ที่ถูกปล่อยออกจาก Ionic
solutes จะทำให้ปัสสาวะมีค่า pH สูงขึ้น
การตรวจ Leukocyte : อาศัยหลักการ aromatic
amine ซึ่งเกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่าง leukocyte esterase กับ diazonium salt ทำปฏิกิริยากับ indoxyl
ester ให้สี azo dye
การตรวจ Ascorbic acid : อาศัยหลักการ Ascorbic
acid จะทำให้สีของ Tillmann’s reagent เปลี่ยนไป
2.3
การตรวจปัสสาวะทางกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination)
ปั่นปัสสาวะ 10 ml
ที่ความเร็วรอบ 2000 รอบ เป็นเวลา 5 นาที
นำตะกอนที่ปั่นได้มาดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
3.
คุณลักษณะของวิธีการทดสอบ
ไม่มี
4. ประเภทและชนิดของตัวอย่าง
ปัสสาวะ
5.
ประเภทของภาชนะบรรจุและสารที่ใช้
ภาชนะเก็บตัวอย่างที่สะอาดมีฝาปิด
6.
เครื่องมือและน้ำยาที่ใช้
6.1 เครื่องมือ
6.1.1
หลอดก้นแหลมขนาด 1.6x12 เซนติเมตร มีขีดบอกปริมาตร
6.1.2
Slide
6.1.3 Coverslip
6.1.4
Centrifuge ปรับความเร็วได้
6.1.5 Mixer
6.1.6
Microscope
6.1.7
Refractometer
6.2 น้ำยาและสารมาตรฐาน (Standards)
แถบน้ำยาสำเร็จรูป
ประกอบด้วยแถบการตรวจ Urobilinogen
, Glucose , Bilirubin , Ketone , pH , Blood , Specific gravity , Protein ,
Nitrite , Leukocyte , Ascobic acid ยี่ห้อ Premier
ส่วนประกอบของน้ำยา
1. Urobilinogen
|
4-Methoxybenzenediazonium
2.9 mg.
|
2. Glucos
|
Glucose oxidase
430 U , Peroxidase 200 U , Potassium iodide 12 mg.
|
3. Bilirubin
|
Sodium nitrite
0.733 mg. , 2,4-dechlorobenzene diazonium 2.3 mg.
Sulfosalicylic acid
25 mg.
|
4. Ketone
|
Sodium
nitroprusside 23.0 mg.
|
5. pH
|
Methyl red 0.05
mg. Bromothymol blue 0.5 mg.
|
6. Blood
|
Cumene
Hydroperoxide 12 mg. o-Tolidine 35 mg.
|
7. Specific
gravity
|
Bromothymol blue
0.5 mg. , Poly vinyl ether-ALT-maleic acid anhydrous 140.5 mg.
|
8. Protein
|
Tetrabromophenol
blue 0.34 mg.
|
9. Nitrite
|
P-arsanilic acid
4.5 mg.
|
10. Leukocyte
|
Inclued Indole
amino acid ester 1.3 mg.
|
11. Ascobic acid
|
2,6-dichloro
indophenol sodium salt 0.8 mg.
|
7.
วิธีการสอบเทียบ
ไม่มี
8.
ขั้นตอนการดำเนินการ
8.1 การตรวจทางกายภาพ
(Physical examination)
8.1.1 ตรวจดูสี ความขุ่นด้วยตาเปล่า
8.2
การตรวจทางเคมี (Chemical
examination)
8.2.1
จุ่มแถบน้ำยาสำเร็จรูปลงในปัสสาวะให้เปียกทั่วกันแล้วรีบยกขึ้น ไม่ควรจุ่มแช่ไว้นาน เพราะ
ปัสสาวะจะชะเอาน้ำยาเคมีที่เคลือบไว้หลุดออกมาได้
8.2.2
ยกแถบน้ำยาสำเร็จรูปขึ้นในแนวนอน
โดยแตะปลายแถบน้ำยาสำเร็จรูปกับขอบภาชนะเพื่อกำจัด
ปัสสาวะส่วนเกินออก ไม่ควรจับแถบน้ำยาสำเร็จรูปในแนวดิ่ง เพราะจะทำให้น้ำยาที่เคลือบไว้บนแถบ
น้ำยาสำเร็จรูปที่ใช้ตรวจสารหลายอย่างอาจไหลปนเปื้อนกันได้
8.3
การตรวจทางกล้องจุลทรรศน์ (Microscopic examination)
8.3.1
เขย่าผสมปัสสาวะให้ตะกอนกระจาย
โดยเขย่าภาชนะที่ใส่ปัสสาวะหรือใช้แท่งแก้วหรือหลอดกาแฟ
กวนให้ตะกอนปัสสาวะกระจายดี
8.3.2
รินปัสสาวะปริมาตร 10 มิลลิลิตร
ใส่หลอดก้นแหลม ถ้าไม่ครบ 10
มิลลิลิตร ให้ปั่น 5 มิลลิลิตร แต่
ถ้าไม่ครบ
5 มิลลิลิตร ให้ใช้ปัสสาวะ 4 หรือ 3 หรือ 2 มิลลิลิตร
ตามปริมาตรที่มีอยู่และต้องหมายเหตุบอก
ด้วยว่าปั่นปัสสาวะปริมาตรเท่าใด
นอกจากนี้ปัสสาวะที่ไม่พอปั่นหรือปั่นไม่ได้เพราะขุ่นมากต้องหมาย
เหตุบอกเช่นกันว่าปัสสาวะไม่พอปั่น
(Uncentrifuged
urine)
8.3.3
ปั่นด้วยเครื่องปั่นความเร็ว 2000 รอบต่อนาที นาน 5 นาที
8.3.4
เมื่อครบเวลา 5 นาทีแล้ว รอให้เครื่องปั่นหยุดเอง อย่ากดปุ่มเบรก เพราะตะกอนจะหลุดจากก้นหลอด
8.3.5
เทน้ำใสทิ้ง
โดยคว่ำหลอดในแนวดิ่งแล้วหงายหลอดขึ้นทันที เหลือน้ำใสผสมตะกอนปัสสาวะ
ปริมาตร
0.25 มิลลิลิตร
8.3.6
ผสมตะกอนให้เข้ากันดี
โดยเคาะก้นหลอดกับฝ่ามือ
หรือใช้เครื่องเขย่าสารละลาย (vortex)
8.3.7
ใช้หลอดกาแฟหยดตะกอนปัสสาวะลงบนสไลด์สะอาด 1 หยด แล้วปิดด้วย coverslip ขนาด 22x22
มม.
8.3.8
นำสไลด์ไปดูด้วยกล้องจุลทรรศน์
โดยใช้กำลังขยายต่ำ (10x) ก่อน
เมื่อจะจำแนกชนิดของตะกอน
ให้ใช้กำลังขยายสูง
(40x) ต่อไป
การรายงานผล
การตรวจทางกายภาพ
(Physical
examination)
1. สี (Color)
-
Pale
Yellow : สีเหลืองอ่อน
-
Yellow
: สีเหลือง
-
Deep
Yellow : สีเหลืองเข้ม
-
Orange
: สีส้ม
-
Dark
: สีดำ
-
Amber
: สีอำพัน
-
Smoky
Brown : สีน้ำตาลขุ่นมีเลือดปน
-
Red
: สีแดง
-
Milk
: สีคล้ายนม (chyluria, pyuria)
-
Green
: สีเขียว
2.
ความขุ่น (Turbidity)
-
Clear
: ใส
-
Slightly
Turbid : ขุ่นเล็กน้อย
-
Turbid
: ขุ่น
3.
ความถ่วงจำเพาะ (Specific gravity)
รายงานทศนิยม
3 ตำแหน่ง
4.
ความเป็นกรด – ด่าง (pH)
รายงานทศนิยม
1 ตำแหน่ง
5.
Protein
, Sugar , Ketone , Blood (การตรวจทางเคมี)
รายงาน
Trace ,
1+ , 2+ , 3+ , 4+
6.
Microscopic
examination
-
Cell ต่าง ๆ (RBC, WBC, Epithelial cell, Parasite, Sperm)
รายงานพิสัยเฉลี่ยต่อ
HPF : 0-1, 1-2, 2-3, 3-5, 5-10, 10-20, 20-30, 30-50, 50-100, >100
-
Cast , Crystal : รายงานพิสัยเฉลี่ยต่อ LPF
-
Amorphous , Mucous : รายงาน 1+, 2+, 3+, 4+
(ดูด้วยกำลังขยาย 400x (HPF))
-
Bacteria , Yeast : รายงาน Few, Moderate, Numerous (ดูด้วยกำลังขยาย 400x (HPF))
9.
วิธีการควบคุมคุณภาพ
9.1 ตรวจสอบคุณภาพของแถบตรวจสำเร็จรูปทุกวันและบันทึกผลใน
บันทึกค่าการควบคุมคุณภาพภายใน การตรวจวิเคราะห์ปัสสาวะ (FM-MSL-060)
9.2 โครงการประเมินคุณภาพทางจุลทรรศนศาสตร์คลินิก
โดยองค์กรภายนอก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ (EQAC)
10.
สิ่งรบกวน
ไม่มี
11.
หลักการของวิธีการคำนวณผลวิเคราะห์
ไม่มี
12.
ขอบเขตค่าอ้างอิง
ปัสสาวะคนปกติ
จะมีสีเหลืองอ่อน (Pale
Yellow) ไปจนถึงสีเหลืองเข้ม (Deep Yellow)
และมักจะใสมีความถ่วงจำเพาะ 1.003-1.030 มี pH เป็นกรดอ่อน
(เฉลี่ยประมาณ 6.0) และตรวจไม่พบโปรตีน
น้ำตาล คีโตน
เลือดในปัสสาวะด้วยวิธีทางเคมีหรือน้ำยาสำเร็จรูปที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ โดยทั่วไป
เมื่อนำตะกอนปัสสาวะของคนปกติมาตรวจดูด้วยกล้องจุลทรรศน์จะพบปริมาณและชนิดของตะกอนปัสสาวะต่างๆ
ดังนี้
เม็ดเลือดแดง 0-2 cells/HP
เม็ดเลือดขาว 0-6 cells/HP
Renal cell 0-5 cells/HP
Transitional
cell 0-5 cells/HP
ผลึก ไม่พบผลึกที่พบในภาวะผิดปกติ แต่อาจจะพบผลึกที่พบได้ใน ภาวะ
ปกติ
ตั้งแต่จำนวนน้อยถึงมาก
คาสท์ พบเฉพาะ Hyaline Cast จำนวน 0-2/HP
13.
ขอบเขตของค่าของผู้ป่วยที่รายงาน
ไม่มี
14.
ค่าวิกฤต
ไม่มี
15.
การแปลผล
การตรวจทางเคมี
Glucose = Negative,
Protein = Negative, Ketone = Negative, Blood = Negative
16.
ข้อควรระวังด้านความปลอดภัย
16.1 ควรปฏิบัติตาม Universal Precaution
16.2
ให้ถือว่าตัวอย่างตรวจเป็นตัวอย่างติดเชื้อ จึงควรปฏิบัติด้วยความระมัดระวัง
17.
แหล่งที่มาของความแปรปรวนที่สำคัญ
17.1
Ascorbic
Acid > 50 mg/dl
17.2
Ketone
bodies > 40 mg/dl
18.
เอกสารอ้างอิง
18.1 รัตนา
ฤทธิ์มัติ, ปัสสาวะ คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล 2531 หน้า 10-15ม 113-142
18.2 ทัศนีย์
เล็บนาค การตรวจปัสสาวะและสารน้ำจากร่างกาย คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล
2539 หน้า 33-56
18.3 Sam Frankel Stanley,
Reitman and Alex C. Sonnen write; Grandwohl’s Clinical Laboratory methods and
diagnosis 7th edition, Volume 2 1970, p1883
18.4 เอกสารกำกับน้ำยา
Reagent strip for Urinalysis ยี่ห้อ Cybow (SD-BR-MSL-026)
19.
การบันทึกข้อมูล
บันทึกผลใน Work Sheet of Urine
analysis (FM-MSL-013)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น