วันจันทร์ที่ 13 มิถุนายน พ.ศ. 2559

Glycemic Index ไกลซีมิคอินเดกซ์

Glycemic Index ไกลซีมิคอินเดกซ์  

     เป็นการวัดการดูดซึมของอาหารเปรียบเทียบกับอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์ เท่ากับ 100 แสดงว่า ดูดซึมได้รวดเร็วเท่าอาหารมาตรฐาน ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำ แสดงว่าดูดซึมได้ช้า ถ้าไกลซีมิคอินเดกซ์สูงกว่า 100 แสดงว่าการดูดซึมมากกว่าอาหารมาตรฐาน อาหารที่ควรรับประทานในผู้ป่วยเบาหวานคือ อาหารที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำ    นอกจากนั้นการรับประทานอาหารที่มี glycemic index สูง ยังทำให้ระดับ HDL ลดลงได้ 

ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ในอาหารประเภทแป้ง (โดยใช้ข้าวจ้าวเป็นอาหารมาตรฐาน) 

ขนมปังขาว                    110 
ข้าวเหนียว                     106  
ข้าวจ้าว                         100
ก๋วยเตี๋ยวเส้นใหญ่            76
ก๋วยเตี๋ยวเส้นหมี่, บะหมี่     75 
มักกะโรนี สะปาเก็ตตี        64-67 
วุ้นเส้น                           63  

 ค่าไกลซีมิคอินเดกซ์ของผลไม้ไทย (โดยใช้น้ำตาลกลูโคสเป็นอาหารมาตรฐาน) 

ทุเรียน          62.4 
สัปปะรด        62.4
ลำใย            57.2 
ส้ม               55.6
องุ่น              53.1
มะม่วง           40.6
กล้วย            38.6  

  จะเห็นได้ว่า การชิมผลไม้ว่าหวานหรือไม่หวานนั้น อาจทำให้เข้าใจผิดว่า ผลไม้นั้นไม่มีปัญหาในการรับประทาน ผลไม้บางอย่างมีรสเปรี้ยวกลบหวานอยู่ ทั้งที่คุณสมบัติในการทำให้น้ำตาลสูงเท่าเทียมกับผลไม้หวาน เช่น สัปปะรด ขณะที่มะม่วงมีรสหวาน แต่ไกลซีมิคอินเดกซ์ไม่สูง ดังนั้นผลไม้ที่ไม่ควรรับประทาน เนื่องจากไกลซีมิคอินเดกซ์สูงได้แก่ ทุเรียน สับปะรด ลำใย เป็นต้น ผลไม้ที่รับประทานได้ประจำ เนื่องจากไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำ ได้แก่ กล้วย มะละกอ เป็นต้น   อาหารพวกแป้งเป็นอาหารที่หลีกเลี่ยงได้ยาก จึงควรรับประทานกลุ่มที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์ต่ำกว่าข้าวจ้าว เช่น วุ้นเส้น ,เส้นก๋วยเตี๋ยว, บะหมี่ หลีกเลี่ยงกลุ่มที่มีไกลซีมิคอินเดกซ์สูงกว่าข้าวจ้าว เช่น ข้าวเหนียว ขนมปังขาว เป็นต้น 

ภาพประกอบจาก http://www.urbanhealthnw.com/health-information/health-articles/glycemic-index-what-you-need-to-know

ที่มา การดูแลรักษาเบาหวานแบบองค์รวม สาขาวิชาต่อมไร้ท่อ และ เมตาบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น