วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

Occult Blood

Occult  Blood

1.              ความมุ่งหมาย (Purpose)
เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานทราบวิธีการตรวจ Occult blood ในอุจจาระได้อย่างถูกต้อง โดยใช้ชุดน้ำยาตรวจ FOB Fecal Occult Blood Reagent Strips

2.              การใช้งาน (Applications)
มีหลายโรคที่สามารถพบการเกิดเลือดปะปนมากับอุจจาระ ปัญหาการเกิดความผิดปกติเกี่ยวกับทางเดินอาหาร ระยะแรก เช่น มะเร็งลำไส้ (colon cancer), ulcers , polyps, Colitis, Diverticulitis และ fissures อาจไม่พบความผิดปกติหรืออาการที่สังเกตได้ พบเพียงเลือดที่ปนออกมา (Occult blood) หลักการดั้งเดิมที่ใช้ guaiac-based Method ขาดทั้งความไวและความจำเพาะ
         FOB Fecal Occult Blood Reagent Strips สามารถตรวจจับ Occult blood ได้ โดยตรวจ Hemoglobin ที่ระดับต่ำสุด 0.5 mg/dL  ความแม่นยำของการตรวจขึ้นกับอาหารที่ผู้ป่วยรับประทาน

3.              เอกสารอ้างอิง (References)
เอกสารกำกับชุดน้ำยาตรวจ FOB Fecal Occult Blood Reagent Strips  ของ บ. ACON Laboratories Inc.

4.              นิยามและคำย่อ (Terminology and abbreviation)
TMB =  3,3’,5,5’-tetramethylbenzidine

5.              หลักการ (Principles)

FOB Fecal Occult Blood Reagent Strips (Feces) เป็นหลักการเชิงคุณภาพ ซึ่งมีสารเคมีในการตรวจจับเลือดในอุจจาระ (Occult blood) การทดสอบนี้จะอาศัยหลักการคือ สารฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) ที่ปนมากับเลือดในอุจจาระจะถูกสลายและจับโดยสาร diisopropylbenzene dihydroperoxide และ 3,3’,5,5’-tetramethylbenzidine ที่เคลือบบนแถบ และจะสังเกตได้โดยการเปลี่ยนสีที่แผ่นทดสอบจากสีเหลือง ไปเป็นสีเขียวหรือ น้ำเงินเข้ม 
1.              เอกสารที่เกี่ยวข้อง (Associated document)
ไม่มี

2.              ความปลอดภัย (Safety)
2.1.       ชุดตรวจใช้สำหรับการวินิจฉัยโรคภายนอกร่างกายเท่านั้น อย่าใช้ถ้าน้ำยาหมดอายุ
2.2.       ห้ามกิน ดื่มหรือสูบบุหรี่ในบริเวณตรวจสิ่งส่งตรวจ
2.3.       สวมเสื้อคลุมหรือเสื้อกาว์น ถุงมือประเภทใช้ครั้งเดียว และสวมแว่นตาป้องกัน
2.4.       ความชื้นและอุณหภูมิอาจส่งผลต่อการตรวจควรระมัดระวัง
2.5.       แถบตรวจควรปิดสนิทก่อนใช้งาน
2.6.       อย่าสัมผัสถูกบริเวณแถบทดสอบที่ต้องอ่านผล
2.7.       ทิ้งแถบทดสอบที่ตรวจแล้วในถังขยะติดเชื้อ

3.              เครื่องมือเครื่องใช้ (Equipment and supplies)
8.1 Reagent strips  (มีในชุดตรวจ)
8.2 Specimen extraction tubes with buffer  (มีในชุดตรวจ)
8.3 Package insert เอกสารกำกับ  (มีในชุดตรวจ)
8.4 Specimen collection container เช่น กระป๋องพลาสติกพร้อมฝาติด
8.5 นาฬิกาจับเวลา

4.              สารมาตรฐาน (Standard)
ไม่มี

5.              วิธีดำเนินการ (Procedures)
10.1 การเก็บและเตรียมสิ่งส่งตรวจ
10.1.1 เพื่อผลการตรวจที่ดี ควรตรวจอุจจาระ ภายใน 6 ชั่วโมงหลังการเก็บ สิ่งส่งตรวจอาจจะเก็บได้ 3 วันที่ 2-8 องศาเซลเซียส ถ้าไม่ได้ตรวจภายใน 1 ชั่วโมง 
10.1.2 สิ่งส่งตรวจที่เตรียมใน extraction tube อาจเก็บได้ถึง 3 เดือนที่ -20 องศาเซลเซียส ถ้าไม่ได้ตรวจภายใน 1 ชั่วโมงหลังการเตรียม
10.1.3 ก่อนการตรวจ 3 วันก่อนหน้า ผู้ป่วยควรบริโภคอาหารมีเส้นใยช่วยขับถ่าย หลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อสัตว์หรือไส้กรอกเพราะจะทำให้เกิดผลบวกปลอมได้

      10.2 การเก็บน้ำยาและความคงตัว
                10.2.1 ควรเก็บชุดตรวจที่อุณหภูมิห้องหรือตู้เย็น (2-30 องศาเซลเซียส) ให้พ้นจากแสงแดด แถบตรวจจะมีอายุการใช้งานตามวันหมดอายุที่ระบุ และอย่าแกะแถบชุดตรวจทิ้งไว้ ให้แกะเฉพาะที่ใช้งานเท่านั้น และอย่าแช่เย็นและอย่าใช้แถบตรวจหมดอายุโดยเด็ดขาด
               
        10.3 การทดสอบ
                10.3.1 เก็บอุจจาระในอุปกรณ์เก็บ เช่น กระป๋องพลาสติกมีฝาปิดที่สะอาดและแห้ง เปิดฝา Specimen extraction tube และนำก้านกดลงอุจจาระอย่างน้อย 3 บริเวณที่ต่างกันหรือเก็บอุจจาระประมาณ 10-50 mg และใส่ลงใน Specimen extraction tube
                10.3.2 ปิดฝาให้แน่นและเขย่าเพื่อให้อุจจาระละลายเข้ากับบัฟเฟอร์
                10.3.3 นำแถบตรวจออกจากขวดที่เก็บและหยดสิ่งส่งตรวจจาก extraction tube 1 หยด หรือประมาณ 50 uL โดยวางแถบตรวจในแนวระนาบ
                10.3.4 อ่านผลตรวจภายใน 5 นาที ถ้ามีสีเขียวปรากฎในแถบให้แปลผลว่า บวก (Positive result)
                          หมายเหตุ อย่าอ่านผลหลังจาก 10 นาที    
 10.4 การแปลผล
        Negative = สีแถบตรวจยังคงเป็นสีเหลือง สีเดิม  แปลว่า สิ่งส่งตรวจไม่มี Occult blood  
         Positive = สีแถบตรวจมีสีเขียวจนถึงสีน้ำเงินเข้ม  แปลว่า สิ่งส่งตรวจมี Occult blood  

6.              การคำนวณ (Calculation)
ไม่มี

7.              การควบคุมคุณภาพ  (Quality control)
สารควบคุมคุณภาพมาตรฐานไม่มีให้ในชุดตรวจ
  
ข้อจำกัดการตรวจ
1.             FOB Fecal Occult Blood Chemistry Reagent Strips (Feces) จะจำเพาะกับ ฮีโมโกลบินในอุจจาระ การพบเลือดในอุจจาระอาจไม่จำเพาะกับภาวะเลือดออกทางลำไส้ (Colorectal bleeding)
2.             การทดสอบนี้ใช้เพื่อคัดกรองเท่านั้น การวินิจฉัยโรคและอาการทางคลินิกควรกระทำโดยแพทย์
3.             หากมีข้อสงสัยในการทดสอบควรทำการทดสอบอื่นๆ เพื่อประกอบการวินิจฉัย
4.             แอลกอฮอล์, ยาลดไข้กลุ่มแอสไพรินหรือยาอื่นๆที่รับในปริมาณมาก อาจเป็นสาเหตุให้พบผลบวก ดังนั้นควรงดสารดังกล่าวอย่างน้อย 48 ชั่วโมงก่อบเก็บอุจจาระตรวจ
5.             ผู้ป่วยควรทานอาหารที่มีเส้นใยมากอย่างน้อย 3 วัน ก่อนการตรวจและหลีกเลี่ยงอาหารประเภทเนื้อหรือไส้กรอกเนื่องจากอาจให้ผลบวกปลอม
6.             ผลลบปลอมอาจเกิดจากการทาน วิตามิน ซี
7.             อาหารที่มี Peroxides และ Heme อาจรบกวนการทดสอบ
8.             ควรเลี่ยงการเก็บสิ่งส่งตรวจช่วง 3 วันในระยะที่มีประจำเดือนหรือเลี่ยงเลือดที่ปนมากับปัสสาวะ
9.             การทดสอบไม่สามารถใช้ตรวจเลือดในปัสสาวะหรือสารคัดหลั่งอื่นๆได้

8.              การบันทึกข้อมูลและเอกสารที่ใช้ (Documentation)
8.1.       FM-MSL-014 Stool-Fluid ANALYSIS (ทะเบียนบันทึกผลการตรวจอุจจาระ และของเหลวต่าง ๆ จากร่างกาย)

9.              รายละเอียดอื่น (Supplementary notes)
14.1 ความไวในการทดสอบ (Sensitivity)
              FOB Fecal Occult Blood Reagent Strips สามารถตรวจจับ Occult blood ได้ โดยตรวจ Hemoglobin ที่ระดับต่ำสุด 0.5 mg/dL ผลบวกขึ้นกับปัจจัยหลายอย่าง เช่น อายุ เชื้อชาติ สิ่งส่งตรวจที่ใช้ และโรคสำไส้อักเสบหรือปัจจัยอื่นๆที่สัมพันธ์กับภาวะเลือดออกในลำไส้ ทางเดินอาหาร
14.2 การประเมินทางคลินิก (Clinical Evaluation)
              FOB Fecal Occult Blood Reagent Strips มีความสัมพันธ์กับชุดตรวจชั้นนำอื่นๆ ที่ 98 %

10.       เอกสารอ้างอิง
1.             Simon J.B. Occult Blood Screening for Colorectal Carcinoma:A Critical Review,Gastroenterology, Vol. 1985; 88:820.

2.             Blebea J. and Ncpherson R. A. False-Positive Guaiac Testing With Iodine, Arch Pathol Lab Med, 1985; 109: 437-40.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น