(Symptoms of Chronic Hepatitis B)
ในผู้ใหญ่ที่เป็นไวรับตับอักเสบบีฉับพลัน (Acute Hepatitis B) พบการเป็นเรื้อรังน้อยกว่าร้อยละ 5 โดยทั่วไปจะหายไปในเวลา 2-3 เดือนและต้องหายใน 6 เดือน
A, resolution of active infection; B, progression to chronic infection.
credit: http://www.worldgastroenterology.org/guidelines/global-guidelines/hepatitis-b/hepatitis-b-english
ในผู้ป่วยที่ไม่สามารถกำจัดไวรัสตับอักเสบบีออกจากร่างกายได้ภายในเวลาดังกล่าว เรียกว่า ตับอักเสบบีเรื้อรัง (Chronic Hepatitis B) ซึ่งผู้ป่วยกลุ่มนี้มักไม่สามารถกำจัดไวรัสตับอักเสบบีออกจากร่างกายตลอดชีวิต ปัจจัยที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสตับอักเสบบีออกจากร่ายกายและเป็นเรื้อรังคือ
*** การติดเชื้อขณะอายุน้อย โดยเฉพาะอายุน้อยกว่า 1 ปี
*** ได้รับยากดภูมิต้านทาน หรือมีภาวะภูมิต้านทานบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถกำจัดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ การกำจัดไวรัสตับอักเสบบีต้องอาศัยภูมิต้านทาน เช่น บางครั้งยาลูกกลอนหรือยาสมุนไพรที่มีส่วนผสมของสารสเตอรอยด์ (Steroid) จะกดการทำงานของเม็ดเลือดขาวซึ่งสร้างภูมิต้านทาน ได้
*** ปัจจัยทางพันธุกรรมที่ทำให้การทำงานของภูมิต้านทานไม่ปกติ
เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง (Chronic Hepatitis B ; CHB) เชื้อไวรัสจะฝังอยู่ในตับตลอดเวลา และอาจแบ่งโรคออกได้เป็น 3 ระยะ สำคัญๆ คือ
1 Immune tolerance ระยะที่มีเชื้อมากแต่โรคสงบ พบว่าในระยะแรกๆ โดยเฉพาะกลุ่มที่ติดเชื้อตั้งแต่แรกคลอด ช่วงอายุน้อยๆ 10-15 ปีแรกของชีวิต แม้มีปริมาณเชื้อไวรัสตับอักเสบบีในเลือดและในตับมากมายแต่ไม่มีการอักเสบของตับเลย ทั้งนี้เพราะภูมิต้านทานหรือเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วยยังตรวจไม่พบว่ามีเชื้อแปลกปลอมแฝงอู่ในตับของผู้ป่วย การตรวจเลือดจะมีปริมาณไวรัสมากมายในเลือด (HBV DNA) แต่การทำงานของตับปกติ (AST/ALT) หากมีการตรวจพยาธิวิทยาของตับก็มักไม่พบการอักเสบของตับ
2 Immune clearance ระยะนี้ภูมิต้านทานของผู้ป่วยเริ่มตรวจพบว่ามีไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในตับ จึงพยายามกำจัดหรือควบคุมไวรัสตับอักเสบบี เนื่องจากไวรัสตับอักเสบบีอยู่ในเซลตับ การทำลายไวรัสตับอักเสบบี เม็ดเลือดขาวจึงต้องทำลายเซลตับของผู้ป่วยด้วย ทำให้มีการตายของเซลตับเกิดภาวะตับอักเสบขึ้น เกิดเกิดตับอักเสบ จะพบว่ามีระดับ AST/ALT สูงขึ้น อาจ 2-5 เท่า เช่น ระดับประมาณ 80-200 U/L (หน่วย/ลิตร) (ค่าปกติ AST และ ALT ประมาณไม่เกิน 40 U/L อาจแตกต่างบ้างเล็กน้อยตามแต่ละห้องปฏิบัติการ) การเกิดการอักเสบขนาดนี้มักไม่มีอาการอะไร ไม่มีตาเหลืองตัวเหลืองเหมือนตับอักเสบเฉียบพลัน ในผู้ป่วยที่ภูมิต้านทานแข็งแรงดีการอักเสบอาจเกิดไม่นานไม่กี่เดือนก็ควบคุมไวรัสได้เข้าสู่ระยะสงบ หากการอักเสบเกิดนานๆ มีการตายของเซลตับมากๆ ในที่สุดเมื่อเข้าสู่ระยะสงบ การอักเสบและไวรัสลดลงเหมือนกัน แต่ตับอาจกลายเป็นตับแข็งไปแล้ว เพราะผ่านการอักเสบมานาน
Credit : http://hepbblog.org/2013/08/13/diagnosed-with-chronic-hepatitis-b-what-phase-immune-clearance/
3 Non-replicative ระยะโรคสงบเชื้อน้อย ระยะนี้จะพบว่าการทำงานของตับปกติ หากตรวจเชื้อไวรัสก็จะน้อย อาจเพียงเป็นหลักร้อยหรือหลักพันตัว (copies) การตรวจ HBeAg จะให้ผลลบ ผู้ที่ผ่านระยะที่สองมาได้ก็จะเข้าสู่ระยะนี้ ซึ่งขึ้นกับว่ากว่าจะผ่านระยะที่สองนานเท่าใด บางท่านอักเสบอยู่ไม่กี่เดือนก็เข้าสู่ระยะสงบ ตับก็เกือบปกติ บางท่านผ่านการอักเสบช่วงวัยรุ่นจนถึงวัยผู้ใหญ่อยู่หลายเดือนกว่าจะเข้าสู่ระยะสงบ ตับอาจเสื่อมไปมากแล้ว แม้ผลการทำงานของตับเป็นปกติแต่ตับผู้ป่วยอาจเป็นตับแข็งไปแล้วก็ได้ โปรดอย่าเข้าใจว่าผู้ที่เป็นตับแข็ง จะต้องมีอาการหรือผลเลือด (AST/ALT) ผิดปกตินะครับ เพราะหากมีอาการแสดงว่าต้องเป็นมากๆแล้วระยะสุดท้ายเท่านั้น
ภาพแสดงระยะต่างๆของไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรัง Credit: http://slideplayer.com/slide/6361061/
ในอดีตเรามักเรียกผู้ป่วยในระยะนี้ว่า พาหะไวรัสตับอักเสบบี ทำให้ไม่ค่อยได้ให้ความสนใจ นึกว่าไม่ได้เป็นอะไร แต่ความจริงผู้ป่วยจำนวนหนึ่งมีตับแข็ง อาจเกิดภาวะตับวายในอนาคตหรือเกิดมะเร็งตับได้ จึงพยายามไม่เรียกว่า พาหะ อีกแต่เรียกเป็น ไวรัสตับอักเสบบีเรื้อรังระยะสงบ (Inactive chronic carrier phase) ดูจะดีกว่า ที่สำคัญคือ ระยะต่างๆ ทั้ง 3 ที่กล่าวมานี้มีการกลับไปกลับมาได้ตลอด ระยะสงบก็อาจกลับไปกำเริบ โดยอาจไม่มีอาการอะไรเลย และอาจไม่ต้องมีตัวกระตุ้นก็ได้ ดังนั้นผู้ป่วยแม้อยู่ในระยะสงบ ก็ควรได้รับการตรวจสัก 3-6 เดือนต่อครั้ง เพื่อดูว่ามีการอักเสบหรือไม่ ในระยะนี้จะมี HBsAg ให้ผลบวก แต่ 80% HBeAg จะเปลี่ยนจากบวกไปเป็นลบ ขณะที่ Anti-HBe เปลี่ยนจากผลลบมาเป็นผลบวก เรียกว่าเกิด seroconversion
For as long as HBsAg is detectable, the patient's blood and other bodily
fluids are infectious for hepatitis B. The presence of HBeAg indicates
very rapid viral replication. The presence of antiHBs signifies recovery
or successful immunisation with seroconversion
credit : http://www.mims.com/India/diagnoses/info/1095?q=S.antiHBs
บรรณานุกรม และ website เพิ่มเติม
1 รศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี ไวรัสตับอักเสบบีและซี ภัยเงียบใกล้ตัวคุณ
2 ภาพประกอบจาก http://www.worldgastroenterology.org/guidelines/global-guidelines /hepatitis-b/hepatitis-b-english3 ภาพประกอบจาก http://hepbblog.org/2013/08/13/diagnosed-with-chronic-hepatitis- b-what-phase-immune-clearance/
4 ภาพประกอบจาก http://slideplayer.com/slide/6361061/
5 ภาพประกอบจาก http://www.mims.com/India/diagnoses/info/1095?q=S.antiHBs
6 http://visitdrsant.blogspot.com/2010/07/blog-post.html
Updated 25 MAY 2016
By Retromedtech
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น